สังเกตุ บริเวณที่มักเกิดการรั่วซึมในบ้านบ่อย ก่อนเข้าอยู่

สังเกตุ บริเวณที่มักเกิดการรั่วซึมในบ้านบ่อย ก่อนเข้าอยู่

ปัญหาน้ำซึมเป็นหนึ่งปัญหาที่ก่อกวนใจเจ้าของบ้านเป็นที่สุด ไม่ว่าจะเป็นจากพื้นปูน พื้นกระเบื้อง บอกเลยว่าเป็นปัญหาเรื้อรังแก้ไขยากมาก สำหรับใครจะซื้อบ้าน หรือที่กำลังจะสร้างบ้านต้อง สังเกตุ บริเวณที่มักเกิดการรั่วซึมในบ้านบ่อย ก่อนเข้าอยู่ เพื่อไม่ให้ปัญหาตามมาทีหลัง ท่านอาจจะเสียทั้งเงินและเวลาก็ได้นะคะ

1.บริเวณหลังคาบ้าน

จุดที่เสี่ยงต่อการรั่วซึมที่สุดจุดหนึ่งของบ้าน เนื่องจากต้องเป็นจุดแรกที่รับน้ำฝนโดยตรง ยิ่งหากแผ่นปูหลังคาผ่านการใช้งานมายาวนานหลายปีก็อาจมีปัญหากระเบื้องหลังคาแตก กระเบื้องมีรอยร้าว ปูนที่ใช้ยึดครอบกระเบื้องหลังคาแตกหัก หรืออุปกรณ์ที่ใช้ปูหลังคาเสื่อมสภาพ จนเป็นจุดที่ทำให้เกิดการรั่วซึมเข้ามาในบ้านได้ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการติดตั้งหลังคาแบบผิดวิธีและไม่ได้มาตรฐานด้วย

2. บริเวณดาดฟ้าบ้านหรืออาคาร

ดาดฟ้า เป็นอีกหนึ่งจุดที่มักจะเกิดการรั่วซึมบริเวณรอยต่อของดาดฟ้าที่ชนกับผนังบ้าน หรืออาจเป็นเพราะดาดฟ้ามีรอยร้าว เมื่อฝนตกจึงเกิดการรั่วซึมผ่านทางรอยต่อ หรือรอยแตกร้าวที่เกิดขึ้นครับ ดังนั้น จึงต้องไม่ลืมที่จะตรวจสอบดาดฟ้าอยู่อย่างสม่ำเสมอด้วยครับ

3. บริเวณพื้นบ้านชั้นบนบริเวณห้องน้ำ

เป็นอีกจุดหนึ่งที่หลายคนอาจคาดไม่ถึง แต่พื้นบ้านชั้นบนถือเป็นจุดยอดฮิตในบ้านที่มักจะเกิดการรั่วซึม โดยเฉพาะจากระบบน้ำในบริเวณที่เป็นพื้นห้องน้ำชั้นบน และมักจะส่งผลทำให้เกิดน้ำซึมลงมาที่ชั้นล่างโดยตรง ทำให้เกิดคราบสกปรกสะสม ความชื้น หรือเชื้อรา ที่หากปล่อยไว้นานอาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ จึงไม่ควรละเลยในการแก้ไขซ่อมแซมอย่างทันท่วงทีเลยครับ

4. บริเวณพื้นบ้านชั้นล่าง

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วทั้งหมดว่าพื้นบ้านชั้นล่างเป็นจุดที่มีปัญหาน้ำซึมใต้พื้นที่อาจเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ และการเกิดการรั่วซึมจากน้ำซึมใต้ดินขึ้นมา จะทำให้พื้นบริเวณที่เป็นปัญหาได้รับความเสียหายอย่างหนัก ซึ่งอาจรวมไปถึงความเสียหายในจุดที่มองไม่เห็นอย่างโครงสร้างภายในของบ้าน ซึ่งมีผลต่อความแข็งแรงของตัวบ้านโดยตรงเลยครับ 

5.ผนังบ้าน

ผนังบ้าน เป็นจุดที่เกิดการรั่วซึมได้ง่าย ส่วยใหญ่มักเกิดการรั่วซึมบริเวณรอยต่อระหว่างผนังกับวงกบประตู-หน้าต่าง หรือรอยแตกของมุมวงกบ รวมถึงรอยแตกร้าวบนผนังที่สามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ เช่น การเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือการก่อสร้างที่ผิดวิธี เป็นต้น

วิธีแก้ไขน้ำซึมจากสถานการณ์ต่าง ๆ

  • น้ำซึมที่พื้นในช่วงฝนตก

วิธีแก้ปัญหาน้ำซึมใต้พื้น ในกรณีที่เกิดขึ้นในช่วงที่ฝนตกต้องทำควบคู่ไปกับการซ่อมแซมจุดรั่วซึมต่าง ๆ บนผนังบ้านไปด้วย โดยหากพบว่าผนังภายนอกบ้านมีรอยแตกร้าวก็ต้องทำการฉาบซ่อมแซมรอยร้าวนั้นด้วยปูนฉาบซ่อมอเนกประสงค์เสียก่อน แล้วจึงทาสีภายนอกทับ ส่วนผนังภายในบ้าน หากเกิดน้ำซึมจนทำให้สีทาภายในเกิดอาการบวมพอง ต้องทำการลอกสีทาภายในที่มีปัญหาออกแล้วค่อยทาสีภายในใหม่ หรือหากวัสดุผนังอย่างกระเบื้องผนังหรือวอลเปเปอร์ที่ติดตั้งไว้หลุดล่อน ก็ต้องแก้ไขโดยรื้อของเดิมออกและติดตั้งใหม่ให้เรียบร้อย

  • น้ำซึมที่พื้นแม้ฝนไม่ได้ตก

วิธีแก้น้ำซึมจากพื้นปูน หรือพื้นกระเบื้องให้หายขาดต้องเริ่มทำการซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อน กรณีที่จำเป็นต้องซ่อมแซมโดยการทุบสกัดพื้นหรือผนัง ก็อาจลองหันมาพิจารณาการเดินท่อชุดใหม่เพื่อใช้แทนของเดิมก็ได้ และเมื่อซ่อมแซมจุดรั่วซึมเรียบร้อยแล้วก็ค่อยจัดการฉาบเก็บงาน และปูพื้นหรือผนังส่วนที่มีการทุบรื้อให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิม

  • น้ำซึมที่พื้นในช่วงน้ำท่วม

กรณีที่เกิดน้ำซึมจากพื้นกระเบื้อง หรือพื้นปูนในช่วงน้ำท่วม โดยที่ระดับน้ำภายนอกยังไม่ได้สูงพ้นระดับกระสอบทรายกันน้ำเข้าบ้านเลยด้วยซ้ำ นั่นก็เพราะมวลน้ำที่ล้อมรอบตัวบ้านจะมีแรงดันที่สามารถซึมผ่านชั้นดินมาได้ เมื่อระดับน้ำในชั้นดินสูงขึ้นจนถึงระดับพื้นบ้านก็จะทำให้พื้นคอนกรีตเกิดรอยแตกร้าวได้ และมวลน้ำจากภายนอกก็สามารถแทรกซึมเข้ามาตามรอยแตกเหล่านั้นจนเกิดเป็นปัญหาน้ำซึม หรือผุดขึ้นมาจากพื้นบ้านนั่นเอง

เป็นไงบ้างคะรู้แบบนี้แล้วเจ้าบ้านต้องเตรียมตัว เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามาทีหลัง เพราะฉะนั้นควร  สังเกตุ บริเวณที่มักเกิดการรั่วซึมในบ้านบ่อย ก่อนเข้าอยู่ หรือทางที่ดีให้ผู้เชี่ยวชาญมาตรวจบ้านก่อนเข้าอาศัยอยู่ก็เป็นการดีนะคะ เพื่อความสบายใจของตัวท่านเอง