ไซยาไนด์-โซเดียมไซยาไนด์ คืออะไร อันตรายมากขนาดไหน จากข่าวที่กำลังโด่งดังมากๆ ในตอนนี้ เป็นที่รู้จักกันในข่าวของ แอมไซยาไนด์ เป็นข่าวเกี่ยวกับการวางยา หรือเป็นการฆาตกรรมต่อเนื่องหรือไม่
จากเหตุการณ์ การตายปริศนา ของผู้หญิงคนหนึ่ง หลังไปปล่อยปลาที่ท่าน้ำ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เมื่อวันที่ 14 เมษายน 66 ที่ผ่านมา โดยมีการชันสูตรศพพบว่ามีสารไซยาไนด์ และต่อมาได้มีผู้เสียหายทยอยออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเสียชีวิต ซึ่งเป็นการเสียชีวิตในลักษณะเดียวกันกับคุณก้อย ออกมาเรื่อยๆ จึ่งทำให้เป็นข่าวโด่งดัง และจนถึงวันนี้ (28 เม.ย. 66) มีผู้เสียหาย 14 ราย จึงทำให้สารเคมีนี้ถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก
ไซยาไนด์-โซเดียมไซยาไนด์ คืออะไร อันตรายมากขนาดไหน และเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วมีอาการอย่างไร ?
ไซยาไนด์ (Cyanide) เป็นสารเคมีที่มีความเป็นพิษสูง สารนี้อยู่ในหลายรูปแบบ ทั้งในรูปของแข็ง ของเหลว แก๊ส เช่น Hydrogen Cyanide, Potassium Cyanide, Sodium Cyanide โดยมีการนำไซยาไนด์มาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การสกัดแร่ ผลิตกระดาษ พลาสติก หนังเทียม นอกจากนี้ ไซยาไนด์ยังพบในพืชบางชนิด เช่น มันสำปะหลังดิบ หน่อไม้สด และถั่วบางชนิด สารนี้หากมีการปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกาย จะเข้าไปยับยั้งการทำงานของเซลล์ จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ไซยาไนด์ ไม่ใช่ยา แต่เป็นสารเคมี วุตถุอันตราย
สภาเภสัชกรรม ออกแถลงการณ์ จากข่าวกรณี ‘สารพิษไซยาไนด์’ โดยระบุว่า สภาเภสัชกรรมขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งกับผู้เสียชีวิตและครอบครัว และให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ตำรวจในการเร่งหาตัวผู้กระทำผิด รวมทั้งผู้ร่วมกระทำผิดและสนับสนุนการกระทำผิดทุกราย เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยเร็ว
โดยสรุปว่า สภาเภสัชกรรม ขอเรียนว่า ‘โปตัสเซียมไซยาไนด์’ รวมทั้ง ‘โซเดียมไซยาไนด์’ ไม่ใช่ยา เป็นสารเคมีที่เป็นวัตถุอันตราย
ซึ่ง ‘โปตัสเซียมไซยาไนด์’ รวมทั้ง ‘โซเดียมไซยาไนด์’ รับผิดชอบดูแลและควบคุมโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และปกติจะนำมาใช้ประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรม ไม่ได้นำมาใช้ทางยา
ตามที่มีประเด็นข่าวส่วนหนึ่งที่อาจทำให้เข้าใจว่ามี เภสัชกรเข้าไปพัวพันกับคดีนั้น สภาเภสัชกรรม ขอเรียนว่า เภสัชกร เป็นผู้ที่มีความรู้เรื่องยาและสารเคมีเพื่อใช้ในการรักษา และป้องกันโรคเท่านั้น และต้องปฏิบัติภายใต้กรอบจรรยาบรรณของการประกอบวิชาชีพ ที่กำกับดูแลโดยสภาเภสัชกรรมอย่างเคร่งครัด
หากการสืบสวน สอบสวน ขยายผลแล้ว พบว่า ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมรายใดมีส่วนเกี่ยวพันในการกระทำผิดจริง สภาเภสัชกรรม พร้อมจะพิจารณาโทษทางจรรยาบรรณ ภายใต้อำนาจหน้าที่ของสภาเภสัชกรรม ตามข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณวิชาชีพ อย่างเคร่งครัด
ไซยาไนด์-โซเดียมไซยาไนด์ เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วมีอาการอย่างไร
สารนี้ เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะเข้าไปยับยั้งการทำงานของเซลล์ ทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน มีผลโดยตรงต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ความรุนแรงของอาการ ขึ้นอยู่กับชนิด ปริมาณและระยะเวลาที่ได้รับสารเคมีเข้าไป
อาการที่พบเมื่อได้รับสารไซยาไนด์
ระคายเคืองบริเวณที่สัมผัส่ารเคมี
มีอาการเวียนศีรษะ
คลื่นไส้ อาเจียน
หายใจลำบาก หายใจช้า
ร่างกายอ่อนแรง
หมดสติ ชัก
มีความดันโลหิตต่ำ
หัวใจหยุดเต้น หัวใจวายเฉียบพลัน
อย่างไรก็ตาม คนที่ได้รับ ไซยาไนด์-โซเดียมไซยาไนด์ เข้าสู่ร่างกาย สารมารถรักษาได้ หากได้รับการรักษาทันเวลา แต่ส่วนมาก ที่เสียชีวิต เนื่องจากไม่รู้ว่าตัวเองได้รับสารพิษ เพราะการได้รับสารพิษนี้จะค่อยข้างที่จะรู้ตัวช้า จึงทำให้ได้รับการักษาไม่ทัน